16/3/53

การชำระเงินค่าเช่าและเงินประกันคงค้าง



        เมื่อเลือกเดือนเริ่มต้นบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ผู้ประกอบการกดที่ปุ่ม “ตกลง” เพื่อเข้าสู่หน้าต่างการรับชำระค่าใช้จ่ายคงค้างทั้งสิ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดการรับชำระต่างๆ ดังภาพ




        โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดเงินคงค้างชำระ ให้ผู้ประกอบการใส่จำนวนเงินสดที่ได้รับมาจากผู้เช่ารายใหม่ ซึ่งหากเป็นจำนวนเงินที่มากกว่า โปรแกรมจะคำนวณเงินทอนให้อัตโนมัติ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกประเภทการับชำระได้ 3 ประเภทได้แก่ เงินสด บัตรเครดิต หรือเช็คธนาคาร และหากวิธีการรับชำระไม่ตรงทั้งสามตัวเลือกให้ผู้ประกอบการเลือกในหัวข้อ “อื่นๆ โปรดระบุ” และให้กรอกประเภทการรับชำระเองได้ทันที เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกต้องแล้วให้กดปุ่ม “ชำระเงิน” โปรแกรมจะให้ยืนยันด้วยการใส่รหัสผ่านดังภาพ




        หลังจากผู้ประกอบการใส่รหัสผ่านที่ถูกต้องแล้ว โปรแกรมจะให้เลือกฟอร์มการพิมพ์รายงาน ให้ทำการ Double Click ที่ฟอร์มรายงานที่ต้องการ โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดการชำระและสามารถสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ไปทันที ดังภาพ




ข้อแนะนำในการพิมพ์ใบเสร็จรับเงินด้วยระบบของ OwnHome
        การพิมพ์ใบเสร็จต่างๆในระบบของ OwnHome นั้นจะใช้กระดาษขนาด 9” x 11” แบ่งครึ่งแบบมีสองสำเนา ซึ่งกระดาษประเภทนี้มีจำหน่ายแบบสำเร็จรูปในร้านเครื่องเขียนหรืออุปกรณ์สำนักงานทั่วไป ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องสั่งทำเป็นพิเศษแต่อย่างใด ส่วนเครื่องพิมพ์, ผู้ประกอบการควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์ชนิดหัวเข็ม หรือ Dot Matrix ข้อดีของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือผ้าหมึกมีราคาถูก แข็งแรง ทนทาน และ สามารถพิมพ์สำเนาได้ แต่มีข้อเสียคือราคาต่อเครื่องที่แพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกหรือเครื่องพิมพ์เลเซอร์บางรุ่น

การเลือกเดือนเริ่มต้นงวดบัญชี



        เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการให้ส่วนลดกรณีย้ายเข้ากลางเดือนแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้นตอนสำคัญในการเลือก ”เดือนเริ่มต้นงวดบัญชี” พร้อมชำระเงินค่าเช่าและเงินประกันคงค้าง ซึ่งให้ผู้ประกอบการเริ่มได้โดยการกดที่ปุ่ม “ชำระเงินคงค้าง” จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือก เดือนเริ่มต้นงวดบัญชี ซึ่งให้ผู้ประกอบการตรวจสอบและเลือกให้ถูกต้อง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะให้ระบบของ OwnHome รับทราบว่าเดือนไหนที่จะเป็นเดือนเริ่มต้นงวดบัญชี การเลือกเดือนเริ่มต้นดังกล่าวโปรแกรมจะแสดง Dialog box ดังภาพ




        การเลือกเดือนเริ่มต้นบัญชีนั้นมีข้อควรระวังคือ หากเลือกเดือนผิดพลาด จะต้องทำการยกเลิกการย้ายเข้า และเริ่มทำการจองใหม่ดังนั้นผู้ประกอบการควรตรวจสอบขั้นตอนนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน

15/3/53

การเพิ่มข้อมูลผู้เช่ารายใหม่



        1. ให้ผู้เช่ากรอกรายข้อมูลส่วนตัว ผ่านแบบฟอร์ม เพื่อบันทึกเข้าสู่ระบบ
            ก่อนที่จะนำข้อมูลผู้เช่ารายใหม่เข้าสู่ระบบของ OwnHome ผู้ประกอบการควรให้ผู้เช่ารายใหม่กรอกรายละเอียดต่างๆด้วยตนเอง ซึ่ง OwnHome ได้เตรียมแบบฟอร์มการย้ายเข้าพร้อมฟิวส์ที่สำคัญให้ผู้เช่ารายใหม่ได้กรอก ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงจากเมนู “แบบฟอร์ม > แบบฟอร์มการเข้าพัก” ดังภาพ




            ซึ่งแบบฟอร์มดังกล่าวนี้ OwnHome ได้จัดเตรียมไว้ในรูปแบบของเอกสาร Microsoft Word เมื่อคลิกที่เมนูก็สามารถบันทึกเป็นไฟล์และสามารถนำไปใช้ได้ทันทีดังภาพ




            ซึ่งหากเมื่อเปิดไฟล์ดูแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องทำการแก้ไขในส่วนของหัวแบบฟอร์มและข้อมูลอื่นๆ ตามสมควรดังภาพ




            แบบฟอร์มนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดจากโปรแกรมของ OwnHome และแก้ไข/พิมพ์ออกไปทุกครั้งไป, สามารถทำเพียงครั้งแรกเพื่อเป็นต้นฉบับจากนั้นจึงนำไปถ่ายเอกสารเพื่อนำไปใช้ในลูกค้ารายต่อไปได้ แต่หากต้นฉบับเสีย หรือ สูญหายก็สามารถกลับมาดาวน์โหลดได้จากเมนู “แบบฟอร์ม > แบบฟอร์มการเข้าพัก” ได้ตลอดเวลา


        2. ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าสู่ระบบ
            เมื่อให้ผู้เช่ารายใหม่กรอกรายละเอียดต่างๆผ่านแบบฟอร์มที่กำหนดให้แล้ว ให้ผู้ประกอบการคลิกที่ปุ่ม “ทำสัญญา” ดังภาพ




            โปรแกรมจะให้เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เช่า หากเป็นผู้เช่ารายใหม่ที่ไม่เคยมีข้อมูลแฟ้มประวัติอยู่ในระบบ โปรแกรมจะให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เช่ารายใหม่โดยอัตโนมัติดังภาพ




            ให้ผู้ประกอบกรอกข้อมูลของผู้เช่าหลักให้ครบ และให้กดปุ่ม “บันทึก” เพื่อทำการบันทึกข้อมูลพร้อมกับกลับไปหน้าต่างหลักเพื่อเลือกผู้เช่าในการทำสัญญา หรือ ถ้าหากผู้เช่ารายดังกล่าวนี้เคยมีแฟ้มประวัติอยู่แล้วในระบบ, โปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนพร้อมเลื่อนเร็คคอร์ดไปยังแฟ้มข้อมูลผู้เช่าดังกล่าวโดยอัตโนมัติ เมื่อเลือกได้แล้วให้กดปุ่ม “ทำสัญญา” ด้านขวาล่าง ซึ่งจะปรากฏ Dialog box ดังภาพ




            ในหน้าต่างนี้จะเป็นหน้าต่างหลักของการ “รับ” ผู้เช่าเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โซน อาคาร ชั้น ห้อง รายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้เช่า หรือ รายละเอียดเกี่ยวกับการจองและเงินคงค้างต่างๆ ให้ผู้ประกอบการตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนการดำเนินการขั้นต่อไป

            ในขั้นแรกในการรับผู้เช่าเข้าสู่ระบบนั้นให้ ตรวจสอบ ว่าเป็น การย้ายเข้ากลางเดือน หรือไม่ถ้าใช่ให้ผู้ประกอบการให้ส่วนลดตามอัตราส่วนของจำนวนวันคงเหลือ หรือ อื่นๆตามที่ผู้ประกอบการกำหนดไว้ในช่อง ส่วนลดในกรณีย้ายเข้ากลางเดือน ซึ่งจะต้องไม่เกินค่าเช่าต่อเดือน ซึ่งหากมีการกรอกส่วนลด โปรแกรมจะคำนวณ เงินคงเหลือที่จะต้องชำระโดยผู้เช่าให้ใหม่โดยอัตโนมัติ

วิธีการดูลิสต์รายการจองในระบบ


        ซึ่งมีวิธีการคือ คลิกที่ลิงค์เมนู “ข้อมูลการจอง” ด้านซ้ายมือดังภาพ



        จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง “รายการจอง” หรือ Reserved Manager พร้อมให้ทำสัญญาดังภาพ


        ในหน้าต่างนี้จะเป็นหน้าต่างเดียวกันกับการพิมพ์ใบจองซ้ำในบทก่อนๆ ซึ่งจะแสดงรายการจองทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงการทำสัญญา ณ วันย้ายเข้า ให้ผู้ประกอบการเริ่มทำสัญญาโดยการคลิกที่ปุ่ม “ทำสัญญา”

9/3/53

การดูปฏิทินการย้ายเข้า/ย้ายออก



ในกรณีที่เป็นอพาร์ตเม้นต์ขนาดใหญ่ในแต่ละเดือนอาจมีการจองการย้ายเข้าย้ายออกหลายรายการ ผู้ประกอบการสามารถดูปฏิทิน รายการย้ายเหล่านั้นได้โดยการคลิกที่ปุ่ม “ปฏิทินย้าย” บนเมนูบาร์ดังภาพ



ซึ่งโปรแกรมจะแสดงรายการย้ายต่างๆเป็นคล้ายกับปฏิทิน ซึ่งหากวันไหนที่มีการย้าย จะมีสัญญาลักษณ์วงกลม สีเหลือง ครอบวันที่นั้นๆอยู่ดังภาพ



จากปฏิทินนี้ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดการย้ายได้สองวิธีคือ 1. คลิกที่วงกลมสีเหลือง เพื่อดูรายละเอียดการย้ายต่างๆ หรือ คลิกที่ปุ่ม “พิมพ์รายการ” เพื่อพิมพ์รายละเอียดการย้ายแยกตามวันคล้ายดังภาพ



การจองห้องและวิธีรับเงินมัดจำพร้อมออกใบรับจอง



        เมื่อเลือกห้องที่ต้องการได้แล้วขั้นตอนต่อไป จะเป็นตัวอย่างในการรับจองห้องจากผู้สนใจเข้าพักพร้อมรับเงินมัดจำและออกใบจองให้ วิธีการนั้นเรายังจะคงใช้หน้าต่าง “ค้นหาห้องว่าง” จากหัวข้อที่ผ่านมาหรือจะเข้าไปโดย คลิกเข้าไปที่เมนู“Operation > จองห้อง” หรือกดฟังชั่นคีย์ลัด F5 จากนั้นเลือกห้องที่ต้องการและคลิกที่ปุ่ม “จอง...” ดังภาพ




        จากนั้นโปรแกรมจะแสดง Dialog box และปรากฏข้อมูลชื่อห้อง, ชื่อชั้น, ชื่ออาคารและชื่อโซน ที่จะให้ผู้เช่ารายใหม่จอง ผู้ประกอบการควรตรวจสอบให้ถูกต้อง จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้จอง, วันที่จะย้ายเข้า จำนวนเงินจองในวันนี้ ดังภาพ




ในกรณีย้ายเข้ากลางเดือน

        ในกรณีผู้เช่ารายใหม่มีความประสงค์ที่จะย้ายเข้ากลางเดือนให้รับจองในราคาปรกติไปก่อน จากนั้นในวันทำสัญญา ให้ผู้เช่าลดราคาค่าเช่าในเดือนแรกตามอัตราส่วนจำนวนวันคงเหลือ

        จากนั้นเมื่อทุกอย่างครบถ้วนแล้วให้กดปุ่ม “จอง...” เพื่อทำการจองห้อง OwnHome จะถามยืนยันโดยให้ใส่รหัสผ่านอีกครั้งดังภาพ




        ให้ผู้ประกอบการใส่รหัสผ่านอีกครั้งในช่อง PASSWORD และกดปุ่ม “ยืนยัน”เพื่อทำการจองห้อง หรือ กดปุ่ม “ยกเลิก” เพื่อยกเลิกการจอง

        ในตัวอย่างจะทำการกดปุ่ม “ยืนยัน” เพื่อทำการจองห้องโปรแกรมจะให้เลือกแบบฟอร์มรายงานเพื่อพิมพ์ ใบจองให้กับผู้จองดังภาพ




        ให้ผู้ประกอบการเลือก แบบฟอร์มรายงาน แล้วกดปุ่ม “พิมพ์...” เพื่อพิมพ์ใบจอง หรือจะทำการ Double Click ที่แบบฟอร์มรายงานตรงๆเลยก็สามารถทำได้ ซึ่งจะปรากฏหน้าต่างพร้อมให้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ดังภาพ


        ในใบจองจะมีรายละเอียดการรับจองที่สำคัญต่างๆ เช่น เลขที่ใบรับจอง ข้อมูลผู้จอง ข้อมูลห้องที่จอง วันที่ย้ายเข้ารายละเอียดเงินจองหรือเงินมัดจำ รวมไปถึงเวลาที่ย้ายเข้า หรือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับจอง

        สำหรับเวลาที่ย้ายเข้าหรือย้ายออกนี้โดยปรกติจะกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 15.00 นาฬิกา หากผู้ประกอบการมีความประสงค์จะปรับเปลี่ยนเวลาดังกล่าวก็สามารถกระทำได้โดยการคลิกขวาที่ชื่ออาคาร และ เลือกที่ Properties จากนั้นให้เลือก Tab “อัตราค่าบริการมาตรฐาน > ตั้งค่าอื่นๆ” ดังภาพ

        คลิกขวาที่ชื่ออาคาร จากนั้นให้เลือก Properties




        ให้เลือก Tab “อัตราค่าบริการมาตรฐาน > ตั้งค่าอื่นๆ”




        ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนเวลาที่อนุญาตให้ย้ายเข้าหรือย้ายออกได้ตามต้องการโดยคลิกที่ช่องเวลา ซึ่งจะมีFormat ชั่วโมง: นาที: วินาที ตามลำดับ (ตัวอักษรสีแดง)

การกำหนดข้อมูลคีย์การ์ด/บัตรผ่านประตูอิเล็กทรอนิกส์



        คีย์การ์ดและประตูอิเล็กทรอนิกส์เป็นมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร และจะต้องมีการจัดทำทะเบียนคีย์การ์ดเพื่อให้ผู้เช่ายืมใช้ในระหว่างสัญญา OwnHome มีความสามารถในการช่วยจัดทำทะเบียนดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ แก้ไข ค้นหา เพิ่มเติม หรือพิมพ์ข้อมูลทะเบียนได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องก่อนที่จะเปิดให้บริการผู้เช่าได้ใช้บริการได้นั้น จะต้องมีการ “เพิ่ม” ข้อมูลคีย์การ์ด “ทั้งหมด” เข้าสู่ระบบก่อนซึ่งมีวิธีการทำโดยเข้าสู่เมนู “ผู้ประกอบการ > ทะเบียนคีย์การ์ด” ดังภาพ



        เมื่อเลือกแล้วจะปรากฏหน้าต่าง “ทะเบียนคีย์การ์ด” หรือ Keycard Manager เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการกับทะเบียนคีย์การ์ดทั้งระบบได้ดังภาพ

 



        ผู้ประกอบการสามารถ เพิ่ม แก้ไข ลบ หรือดูประวัติการใช้งาน ได้โดยกดปุ่มทางด้านขวามือ หรือทำการ ให้ยืม รับคืน แจ้งชำระ หรือ แจ้งหายได้โดยการกดปุ่มทางด้าน Operation Zone หรือกรองเอาข้อมูลเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมด โดยเลือกที่ Drop down list ดังภาพ




        นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการค้นหาคีย์การ์ดจากผู้เช่า พิมพ์รายงานรายการคีย์การ์ด ส่งข้อมูลไปยัง Microsoft Excel หรือแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ยืมโดยอัตโนมัติ ซึ่งหลังจากผู้เช่าเพิ่มข้อมูลและเริ่มให้ผู้เช่าได้ยืมไปแล้ว ก็จะสามารถเข้ามาทำหรือจัดการรายการข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ ส่วน Interface ของระบบจัดการทะเบียนคีย์การ์ดได้ออกแบบมาอย่างเรียบง่าย แต่ครอบคลุมการทำงานที่จำเป็นทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้ความสามารถนี้ของโปรแกรมเข้าไปช่วยในการบริหารงานด้านรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร หรืออื่นๆได้ตามที่เห็นควร

การกำหนดข้อมูลบริการเสริมสำหรับผู้พักอาศัย



        บริการเสริมคือ บริการที่ผู้ประกอบการมีไว้บริการเสริมสำหรับผู้เช่า โดยที่ผู้เช่าจะใช้หรือไม่ใช้บริการก็ได้ เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สระว่ายน้ำ สปา ฟิตเนส หรือเฟอร์นิเจอร์อื่นๆที่ผู้เช่าอาจมีความจำเป็นเฉพาะรายไป ซึ่งบริการเสริมนี้จะเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน โดยที่ผู้เช่าจะต้องชำระค่าบริการล่วงหน้า (Prepaid) ซึ่งหากเป็นการสมัครกลางเดือน ผู้ประกอบการสามารถให้ส่วนลดได้ตามสมควร

        และเมื่อถึงสิ้นเดือนค่าบริการเสริมต่างๆจะถูกรวมและเรียกเก็บพร้อมกับ บิลค่าเช่า ทุกๆสิ้นเดือน ซึ่งหากกรณีผู้เช่ามีความประสงค์ต้องการยกเลิกบริการในรายการใดๆ สามารถทำได้แต่จะต้องไม่มีหนี้ค้างชำระต่างๆของเดือนก่อนๆในระบบ โปรดดูรายละเอียดในขั้นตอนการทำสัญญา

วิธีการเพิ่ม ลบ แก้ไขรายการบริการเสริม
1. ให้คลิกเข้าไปที่เมนู “ผู้ประกอบการ > บริการเสริม” ดังภาพ


2. จากนั้นจะได้หน้าต่าง บริการเสริม หรือ Additional Service Manager มาดังภาพ


        ซึ่งในหน้าต่างนี้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข หรือพิมพ์รายการบริการเสริมได้, สำหรับการเพิ่มรายการนั้น ให้กดปุ่ม [+] หรือ [-] หากต้องการลบข้อมูล และการแก้ไขนั้นสามารถใช้ฟังชั่นคีย์ F2 หรือการดับเบิลคลิกที่ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรง ส่วนวิธีการพิมพ์รายการนั้นให้กดที่ปุ่ม “พิมพ์รายการ” ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ดังภาพ



8/3/53

การกำหนดอัตราค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค่าเช่า เงินประกัน สัญญาเช่าขั้นต่ำ วันสุดท้ายการรับชำระ ค่าปรับต่อวัน และวิธีการโอนค่าไปยังห้องต่างๆ ในอาคาร


        หลังจากกำหนดสินทรัพย์ที่มีไว้ให้เช่าทุกๆห้องแล้ว ขั้นตอนต่อไปผู้ประกอบการควรจะกำหนดอัตราเริ่มต้นต่างๆ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่ามาตรฐาน เงินประกัน สัญญาที่จะต้องทำขั้นต่ำ วันสุดท้ายของการชำระค่าเช่าโดยไม่เสียค่าปรับ และ ค่าปรับต่อวันในกรณีที่ผู้เช่าชำระเลยวันที่กำหนดไว้ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ให้เข้าไปที่หน้าต่างหลักและให้ คลิกขวา ที่ชื่ออาคารและเลือก Properties ดังภาพ


หรือจะเลือกที่ชื่ออาคารแล้วกดปุ่ม “แก้ไข” ด้านขวาก็ได้ ดังภาพ


2. จากนั้นให้เลือก TAB ที่ 2 หรือ “อัตราค่าบริการมาตรฐาน” ดังภาพ



        ในหน้าต่างนี้ผู้ประกอบการสามารถกำหนดอัตราค่าเช่า, เงินประกัน, สัญญาขั้นต่ำ, ค่าน้ำต่อยูนิต, ค่าไฟฟ้าต่อยูนิต, ค่าโทรศัพท์ในพื้นที่(ครั้งละ), วันที่กำหนดให้ชำระ และค่าปรับต่อวันกรณีที่ผู้เช่าชำระเกินกว่าที่กำหนดซึ่งเมื่อกำหนดเสร็จแล้วค่าต่างสามารถส่งไปให้ทุกห้องที่อยู่ในอาคารนี้ โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  1. ค่าเช่า, เงินประกัน, สัญญาขั้นต่ำจะไม่สามารถแก้ไขได้สำหรับห้องที่อยู่ในระหว่างการเช่า
  2. ห้องที่ไม่มีการเช่าในเฉพาะอาคารที่เลือกนี้โปรแกรมจะทำการปรับปรุงข้อมูลให้ตามปรกติ ดังภาพ



        อนึ่ง หากมีการส่งค่าไปยังห้องต่างๆภายในอาคารที่เลือกโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลให้อัตโนมัติ (หากมีการแก้ไขไว้ก่อนหน้านี้)


การกำหนดข้อมูลสินทรัพย์ในแต่ละห้องอาคาร



        เมื่อตรวจสอบข้อมูลเจ้าของระบบให้ถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นควรกำหนดสินทรัพย์ภายในห้องหรืออาคารว่ามีอะไรบ้างเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบมูลค่าสินทรัพย์ที่ให้เช่าโดยรวม อีกทั้งยังสามารถพิมพ์ออกมาเป็นรายงานเพื่อตรวจสอบได้หรือทำบัญชีควบคู่กันไปได้ โดยให้คลิกไปที่เมนู “ผู้ประกอบการ > รายการข้อมูลสินทรัพย์” ดังภาพ



        จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างการจัดการรายการสินทรัพย์ (Asset Management) ซึ่งหน้าต่างนี้จะสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข พิมพ์ รายการสินทรัพย์ได้ทั้งหมด และยังสามารถส่งออกข้อมูลไปยัง Microsoft Excel ได้อีกด้วย


วิธีการเพิ่มสินทรัพย์รายการใหม่ลงในระบบ
1. ให้กดปุ่ม “เพิ่ม”
2. จากนั้นจะปรากฏ Dialog box เพื่อให้เลือกใส่ข้อมูลต่างๆ ดังภาพ


        ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ได้แก่เลือกว่าเป็นสินทรัพย์ที่จะนำไปใช้สำหรับโซน อาคาร ชั้น หรือห้องไหน ถ้าหากซื้อไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ใช้งาน ให้เลือก Combo box Item “ยังไม่ได้ใช้งาน” และส่วนที่สองเป็นส่วนที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินทรัพย์ที่ซื้อเข้ามาใหม่ว่าจะให้ชื่อ รหัส ราคา วันที่ซื้อ ประเภท สถานะ หรือ ซื้อมาจากใครอย่างไร พร้อมทั้งสามารถระบุหมายเหตุอื่นๆเพิ่มเติมได้ตามสมควร

        เมื่อเพิ่มรายการได้แล้วจะได้รายการดังภาพ ซึ่งรายการต่างๆเหล่านี้ ยังไม่ถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ จนกว่าผู้ใช้จะทำการบันทึกข้อมูลโดยการกดปุ่ม “บันทึก” ด้านล่างขวามือ ดังภาพ


        ซึ่งสามารถพิมพ์ ส่งไปยัง Microsoft Excel แก้ไข หรือ ลบรายการได้ตามปรกติ สำหรับการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์นั้นหากข้อมูลยังไม่ได้บันทึก, โปรแกรมจะทำการบันทึกให้อัตโนมัติก่อนการพิมพ์เสมอ

ตัวอย่างรายงานสินทรัพย์


        รายงานจะแจ้งว่าสินทรัพย์รายการนี้อยู่ห้องไหน พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้ารวมไปถึงราคาแต่ละรายการและราคารวม ซึ่งรายงานแจ้งจะแจ้งผลตามวันที่ที่เลือกไว้ใน Asset Management สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

ตัวอย่างรายงานสินทรัพย์ที่ส่งข้อมูลไปยัง Microsoft Excel



        ข้อสำคัญในการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลคือ ทุกครั้งที่มีการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลฐานข้อมูลจะเปิดในโหมด Intransaction ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถบันทึก หรือ ยกเลิกรายการที่ทำมาทั้งหมดได้ วิธีการนั้นดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วคือ เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลทั้งหมดก่อนให้กดปุ่ม “บันทึก” หรือ กดปุ่ม “ยกเลิก” หากไม่ต้องการบันทึกข้อมูล ยกเว้นในกรณีมีการสั่งพิมพ์ข้อมูล (พิมพ์รายงาน) โปรแกรมจะทำการบันทึกอัตโนมัติการที่จะมีการสั่งพิมพ์เสมอ

การปรับแต่งข้อมูลของเจ้าของระบบ



        ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบในครั้งแรก ควรมีการตรวจสอบข้อมูลเจ้าของระบบให้ถูกต้องอีกครั้ง เนื่องจากข้อมูลนี้จะนำไปแสดงใน หัวรายงาน ต่างๆในระบบ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
       
        1. ให้คลิกไปที่เมนู “ผู้ประกอบการ > ข้อมูลผู้ประกอบการ” หรือ หากต้องการใช้ปุ่มคีย์ลัดให้ใช้ปุ่ม F11



        2. ให้คลิกที่แท็บ “ข้อมูลผู้ประกอบการ” โปรแกรมจะแสดงข้อมูลต่างๆของเจ้าของระบบหรือผู้ประกอบการ ให้ตรวจสอบให้ถูกต้องเนื่องจากข้อมูลในส่วนนี้จะไปปรากฏใน หัวรายงาน ทุกฉบับที่พิมพ์ออกมา เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการบันทึกข้อมูลโดยกดปุ่ม “บันทึก” หรือกดปุ่ม “ยกเลิก” หากต้องการยกเลิกรายการแก้ไขทั้งหมด ดังภาพ



ข้อควรระวัง: หากทำการแก้ไขข้อมูลแล้วทำการ “ปิดหน้าต่าง” โดยใช้ปุ่ม [x] ด้านขวาบนโปรแกรมจะถือว่าเป็นการ “ยกเลิก” การแก้ไขทั้งหมดพร้อมทั้งไม่บันทึกข้อมูลใดๆ

6/3/53

ทำไมต้อง OwnHome



ในปัจจุบันมีซอฟแวร์เฮ้าส์ในประเทศหลายๆ บริษัท ได้สรรสร้างผลงานด้านนี้ออกมาสู่ตลาดจำนวนไม่น้อย ซึ่งก็มีลักษณะข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับซอฟแวร์ของ OwnHome นั้น มีรากฐานมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงานให้กับซอฟแวร์ให้มากที่สุด ส่วนลักษณะเด่นเฉพาะอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณา OwnHome มีดังต่อไปนี้
  • OwnHome ให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้า พร้อมๆกันกับพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆให้อัพเดทอยู่เสมอ
  • ฟังชั่นการใช้งานต่างๆที่ปรากฏในโปรแกรม ล้วนแล้วแต่เป็นฟังชั่นที่มีการออกแบบอย่างมีขั้นตอนที่
  • ชัดเจน ผลคือผู้ประกอบการจะได้ข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วนและถูกต้อง
  • แกนหลักของโปรแกรม (System Core) ใช้เวลาออกแบบและพัฒนากว่า 1,200 ชั่วโมง
  • ฐานข้อมูลหรือ DataFile ที่เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้ประกอบการนั้น ถูกแยกออกเป็นอิสระ
  • จากตัวโปรแกรม ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำสำเนา โอนย้าย ปรับเปลี่ยน สำรองหรือนำกลับมาใช้ได้
  • ตามความเหมาะสม
  • ไม่มีสัญญาใช้งานระยะยาว หากผู้ประกอบการใช้งานแล้วและมีความประสงค์จะยกเลิกการใช้บริการ ก็สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือเงื่อนไขใดๆ
  • OwnHome ไม่จำกัด อาคาร ชั้น ห้องของสถานประกอบการ ซึ่งสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ได้เองทันที
  • วันที่และเวลาในระบบจะอ้างอิงจากเซิร์ฟเวอร์หลัก ไม่ใช่เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ดังนั้นหากวันเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ถูกต้อง จะไม่ส่งผลต่อระบบแต่อย่างใด
  • รายงานต่างๆทั้งหมดในระบบผู้ประกอบการสามารถแก้ไข ปรับแต่ง และบันทึกเป็นแม่แบบได้ด้วยตนเอง
  • OwnHome มีโมดูลตรวจสอบลูกหนี้ค้างชำระที่ง่ายต่อการใช้งาน แต่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
  • โปรแกรมมีอินเตอร์เฟสติดต่อกับผู้ใช้ที่เข้าใจง่าย รวดเร็ว และตรงไปตรงมา
  • OwnHome มีระบบรองรับการดูแลลูกค้าผ่านทาง Remote Service
  • มีอีเมล์ที่ประกันการตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น.
  • OwnHome คิดค่าบริการที่เป็นมิตรภาพ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อให้ได้ซอฟแวร์ที่ได้มาตรฐาน

5/3/53

AMR (Automatic Meter Reading) คืออะไร



ระบบ Automatic Meter Reading หรือ AMR คือ ระบบการอ่านข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ และนำข้อมูลที่อ่านได้ทั้งหมดไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น การพิมพ์ใบแจ้งค่าไฟฟ้าหรือค่าน้ำประปา การพยากรณ์ความต้องการของทรัพยากร เป็นต้น




ระบบ AMR จะทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากมิเตอร์ผ่านอุปกรณ์ MIU (METER INTERFACE UNIT) และโครงข่ายไร้สาย (GPRS) โดยส่งข้อมูลการใช้งานของแต่ละรายมาลงเก็บไว้ใน Database โดยที่ระบบ AMR SOFTWARE จะต้องทำการ PROCESS FILE ของมิเตอร์แต่ละเครื่อง เพื่อส่งข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละราย ให้ผู้ที่รับผิดชอบในการพิมพ์บิลค่าไฟฟ้าหรือค่าน้ำประปาต่อไป



ประโยชน์ของการนำมิเตอร์ AMR มาติดตั้งใช้งาน มีดังนี้

1. ลดปัญหาการชำรุดของมิเตอร์

2. ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าหรือน้ำประปาภายในอาคารในลักษณะ Real time ได้ตลอดเวลา

3. ลดปัญหาการละเมิดใช้ไฟฟ้าหรือน้ำประปา

4. สร้างความเชื่อมั่นในการอ่านหน่วยของพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบข้อมูลเทียบได้

5. ลดปัญหาข้อโต้แย้งกับผู้ใช้

6. ประหยัดเวลา และลดภาระงานของพนักงานจดหน่วย ช่วยลดข้อผิดพลาดเรื่องการจดหน่วย

7. ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าหรือน้ำประปา ไปบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พ.ร.บ.อาคารชุด



กฎกระทรวง    ฉบับที่ ๘ [พ.ศ. ๒๕๔๓] ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ กฎกระทรวง ฉบับที่8 ตามกฎหมายอาคารชุด (27 KB)
กฎกระทรวง    ฉบับที่ ๙ [พ.ศ. ๒๕๔๓] ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ กฎกระทรวง ฉบับที่9 ตามกฎหมายอาคารชุด (30 KB)
พ.ร.บ. อาคารชุด    ( ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. อาคารชุด ( ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 (172 KB)
พ.ร.บ. อาคารชุด     พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 (1,420 KB)
พ.ร.บ. อาคารชุด    ( ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2534 พ.ร.บ. อาคารชุด ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534(567 KB)
พ.ร.บ. อาคารชุด    (ฉบับประมวล) พ.ร.บ. อาคารชุด (ฉบับประมวล) (114 KB)
กฎกระทรวง    ฉบับที่1ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่1 ตามกฎหมายอาคารชุด (72 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่2ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่2ตามกฎหมายอาคารชุด (52 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่3ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่3 ตามกฎหมายอาคารชุด (53 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่4ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่4 ตามกฎหมายอาคารชุด (57 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่6ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่6 ตามกฎหมายอาคารชุด (55 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่7ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่7 ตามกฎหมายอาคารชุด (43 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่8ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่8 ตามกฎหมายอาคารชุด (46 KB)
กฎกระทรวงฉบับที่9ตามกฎหมายอาคารชุด กฎกระทรวงฉบับที่9 ตามกฎหมายอาคารชุด (52 KB)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนส่งเสริมการขายอสังหาฯ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนส่งเสริมการขายอสังหาฯ (51 KB)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนกรณีดำเนินการตามกฎหมาย   ล้มละลาย ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนกรณีดำเนินการตามกฎหมายล้ม ละลาย (46 KB)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนซื้อขายห้องชุด ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนซื้อขายห้องชุด (52 KB)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนปรับปรุงโครงสร้าง   องค์กร ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (51 KB)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเก็บค่าธรรมเนียมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (53 KB)